วันพุธที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2559

ความรู้เบื่องต้นในการเข้าค่ายพักแรม




การกางเต็นท์


เต็นท์หรือกระโจม  ใช้เป็นที่พักผ่อนนอนหลับ และเก็บสิ่งของของลูกเสือซึ่งมีอยู่อยู่ด้วยกันหลายชนิด  ทั้งที่นอนได้คนเดียว  นอนสองคน  หรือนอนหลายคน จะมีชื่อเรียกต่างกันไปตามลักษณะการกาง เช่น  เต็นท์กระแบะ   เต็นท์ชาวค่าย  เต็นท์แบบหลังคาอกไก่  เต็นท์นักสำรวจ  เป็นต้น
การเลือกเต็นท์สำหรับอยู่ค่ายพักแรมนั้น   ควรเลือกที่มีน้ำหนักเบาสามารถที่จะนำไปคนเดียวได้ หรือหมู่ลูกเสือนำไปได้

การเลือกสถานที่กางเต็นท์1. พื้นที่โล่งมีหญ้าปกคลุมบางเล็กน้อย
2. พื้นที่ราบเรียบ  หรือลาดเอียงบ้างเล็กน้อย  ไม่ขุรขระหรือมีของแหลมคม
3. ไม่เป็นแอ่ง  หรือหุบเขาซึ่งเป็นที่น้ำท่วมถึงได้ง่าย 
4. อยู่ใกล้ แหล่งน้ำสะอาดและไม่มีสัตว์เดินผ่าน
5. ไม่อยู่ใต้ต้นไม้ใหญ่  เพราะอาจถูกกิ่งไม้หล่นทับเมื่อมีพายุ
เต็นท์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม นิยมใช้เต็นท์เดี่ยว  เรียกว่ากระโจม 5 ชาย 
ส่วนประกอบของกระโจม 5 ชาย  
1. ผ้าเต็นท์สองผืน      2. เสาเต็นท์      3. เชือกดึงเสาหลักมีความยาวเส้นละ 3 เมตร         4. สมอบก  10  ตัว              
5.เชือกร้อยหูเต็นท์มีความยาว 1-1.5  ฟุต

วิธีกางเต็นท์
ก่อนกางเต็นท์เราต้องดูทิศทางลม  ถ้าเป็นฤดูหนาว  หรือฤดูฝนให้ทัน   ด้านหลังเต็นท์สู่ทิศทางลม  แต่ถ้เป็นฤดูร้อนให้หันหน้าเต็นท์สู่ทางลม  การกางเต็นท์  มีวิธีดังนี้
     1. ให้นำผ้าเต็นท์ทั้งสองผืน  ติดกระดุมเข้าด้วยกัน  (ด้านที่ติดกระดุมเป็นด้านสันหลังคา  ส่วนด้านที่มีรูตาไก่ด้านละ สามรู เป็นด้านชายด้านล่าง  ) จากนั้นนำเสาหนึ่งต้นมาเสียบที่รูหลังคาเต็นท์ ให้คนที่หนึ่งจับไว้
      2. ให้คนที่สองใช้เชือกยาว  1 เส้น ยึดจากหัวเสาไปยังสมอบกด้านหน้า  แล้วใช้เชือกสั้น2เส้น  ยึดชายเต็นท์ เข้ากับสมอบก  ให้เต็นท์กางออกเป็นรูปหน้าจั่ว
      3. ให้คนที่สองเดินอ้อมไปอีกด้านจากนั้นจึงเสียบเสาอีกต้นเข้ากับรูหลังคาเต็นท์  และจับเสาไว้แล้วจึงให้คนที่หนึ่ง นำเชือกเส้นยาวยึดจากเสาไปยังสมอบก
      4. ให้ทั้งสองคนช่วยกันใช้เชือกยึดชายเต็นท์  เมื่อกางเต็นท์เสร็จแล้ว เราต้องขุดร่องน้ำรอบเต็นท์ลึกประมาณ  16 เซนติเมตร  ให้ปลายรางน้ำหันไปทางพื้นที่ลาดต่ำ  แล้วนำดินที่ได้มากันไว้ข้างชายเต็นท์เพิ่อป้องกันน้ำซึมและสัตว์เลื้อยคลานเข้าไป

การเก็บรักษาเต็นท์และอุปกรณ์
      1. ระวังอย่าให้เต็นท์ฉีกขาด  หากขาดหรือมีรูต้องรีบปะชุนทันที
      2. ในเวาลกลางวัน  ถ้าอากาศดีต้องเปิดเต็นท์ให้โล่งเพื่อระบายอากาศ
      3. เวลาถอนสมอบกเก็บ  ให้ดึงกลับขึ้นมาจาแนวที่ตอกลงไป อย่างัด
      4. เมื่อเลิกใช้เต็นท์  ต้องพับเก็บให้เรียบร้อย  หากมีรอยสกปรกต้องรีบทำความสะอาดโดยใช้ผ้าชุบน้ำ หรือผงซักฟอกเช็ด  แล้วผึ่งแดดให้แห้ง

การอยู่ค่ายพักแรมการไปอยู่ค่ายพักแรมจะไปกันเป็นหมู่คณะโดยแต่ละกองก็จะมีผู้กำกับ  และรองผู้กำกับดูแลรับผิดชอบ  ดังนั้นเพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยและความสะดวก  ในแต่ละหมู่จึงต้องแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบในลูกเสือหนึ่งหมู่
นายหมู่จะมีหน้าที่ควบคุมดูแลและรับผิดชอบในหมู่
รองนายหมู่จะมีหน้าที่ช่วยเหลือนายหมู่เวลานายหมู่ไม่อยู่
คนดูแลงานทั่วไปจะมีหน้าที่ทำงานเบ็ดเตล็ดทั่วๆไป
พลาธิการจะมีหน้าที่ดูแลเอาใจใส่อุปกรณ์ของหมู่
คนครัวจะมีหน้าที่ประกอบอาหารสำหรับทุกคนในหมู่
ผู้ช่วยคนครัวจะมีหน้าที่ช่วยเหลือการประกอบอาหาร  ทำครัว
คนหาน้ำจะมีหน้าที่จัดหาน้ำมาใช้ภายในหมู่ให้เพียงพอ
คนหาฟืนจะมีหน้าที่หาเศษไม้กิ่งไม้  มาทำฟืนสำหรับหุ้งต้ม

อาหารที่จะเตรียมไปค่ายพักแรมนั้น  ควรเป็นอาหารที่เก็บได้นาน  ปรุงได้ง่าย  ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารแห้ง  เช่น ไข่เค็ม  กุนเชียง   อาหารกระป๋อง  และจะต้องมีพริก   เกลือ  น้ำตาล  เพื่อช่วยในการปรุงรสด้วย

ประโยชน์ของการอยู่ค่ายพักแรม 
1.  เกิดความสามัคคีในหมู่คณะ
2.  เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลิน
3.  ได้ออกกำลังกาย  ทำให้ร่างกายแข็งแรง
4.  ได้ศึกษาประเพณีของท้องถิ่นต่างๆ
5.  ได้ศึกษาความเป็นไปของธรรมชาติ
6.  ได้ทดสอบความอดทน

การเดินทางไกล

  การเดินทางไกล หมายถึง การเดินทางของลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจากที่ตั้งหรือโรงเรียนไปยังจุดที่กำหนด โดยมีระยะทางที่กำหนดให้ การเดินทางไกลอาจจะเป็นการเดินทางด้วยเท้า จักรยานหรือเรือพายก็ได้ การเดินทางจะเดินทางคนเดียวหรือเป็นหมู่คณะก็ได้
          การเดินทางไกลของลูกเสือ-เนตรนารีเอก จะต้องเดินทางไกลด้วยเท้าหรือทางเรือด้วยความสามารถของตนเอง เป็นระยะทาง 20 กิโลเมตร ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจึงต้องเลือกเดินทางไกลด้วยวิธีใดวิธีหนึ่ง การเดินทางไกลระยะทาง 20 กิโลเมตรนี้เป็นระยะทางที่ไกลพอสมควรสำหรับลูกเสือ-เนตรนารีสามัญ จึงจำเป็นจะต้องเตรียมตัวในการเดินทงให้พร้อม
การเตรียมอุปกรณ์สำหรับเดินทางไกลและอยู่ค่ายพักแรม
          ในการเดินทางไกลลูกเสือ-เนตรนารีสามัญจะต้องเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ ได้แก่เครื่องใช้ประจำตัว เครื่องใช้ประจำหมู่ เครื่องใช้ในการฝึก รายการอาหารและบรรจุสิ่งของเหล่านี้ลงในเครื่องหลังหรือกระเป๋าให้เรียบร้อย
          เครื่องใช้ประจำตัว
          เครื่องใช้ประจำตัวที่ลูกเสือ-เนตรนารีสามัญควรนำไปในการเดินทางไกล มีดังนี้
1. กระติกน้ำ ล้างให้สะอาด ใส่น้ำให้เต็ม
2. เครื่องใช้ประจำตัว เช่น ผ้าเช็ดหน้า สบู่ แปรงสีฟัน เข็มเย็บผ้า ด้ายเย็บผ้า เข็มซ่อนปลาย เชือกผูกเงือน เสื้อ กางเกง ผ้าขาวม้า รองเท้าแตะ ไฟฉาย ช้อน ส้อม และจาน เป็นต้น
3. เครื่องแบบและเครื่องประกอบเครื่องแบบ ได้แก่ เสื้อ กางเกง ผ้าพันคอก หมวก เข็มขัด รองเท้า และเครื่องหมายต่างๆ ถุงเท้าและรองเท้าต้องตรวจให้อยู่ในสภาพดี ไม่ควรใช้รองเท้าใหม่ เพราะจะกัดเท้า หากจำเป็นต้องใช้รองเท้าใหม่ ควรใช้เทียนไขถูบริเวณส้นรองเท้าบริเวณขอบด้านในก่อน จะช่วยป้องกันไม่ให้รองเท้ากัดได้
4. ไฟฉาย ช้อนส้อม จานข้าว
5. ยาประจำตัวและอุปกรณ์การปฐมพยาบาล
6. เข็มทิศ แผนที่ สมุดจดบันทึกการเดินทาง ปากกา ดินสอ
7. เครื่องนอนต่างๆ เช่น เต็นท์ ผ้าปูนอน ผ้าห่ม
8. ถ้าเดินทางไกลฤดูฝนควรมีเสื้อกันฝน
9. เตรียมเชือก เพื่อใช้ผูกรัดสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ
10. ไม้พลองหรือไม้ง่ม
11. ถ้ามีกล้องถ่ายรูปควรนำไปด้วย
สิ่งสำคัญไม่ควรละเลย คือ ต้องตรวจความเรียบร้อยของเครื่องมือเครื่องใช้ที่จะนำไปต้องอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ ส่วนการหีบห่อบรรจุสิ่งของจะต้องไม่ให้เป็นอุปสรรคต่อการเดินทาง


การเข้าฐานลูกเสือ

การรายงานตัวเข้าฐาน
วิธีการเข้าฐาน
 การฝึกอบรมได้แบ่งลูกเสือ - เนตรนารีเป็นหมู่อยู่แล้วการเข้าฐานให้จัดสมาชิก
แต่ละหมู่ได้หมุนเวียนไปได้ทุกฐานๆละ 1 หมู่ หรือ 2 หมู่
 
 . ผู้เข้าฐานมีอาวุธ ( ไม้พลองสำหรับลูกเสือสามัญ )
 เมื่อได้ยินสัญญาณเริ่มการฝึกตามระบบฐาน( ใช้สัญญาณนกหวีดเป่ายาว 1 ครั้ง )
วิ่งไปเข้าฐานตามที่กำหนด เข้าแถวรูปหน้ากระดาน โดยนายหมู่ยืนอยู่หน้าวิทยากรประจำฐานห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าว เมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง หมู่.สิงโต (บอกชื่อหมู่)ตรง วันทยา - วุธ เฉพาะนาย หมู่ เรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ( ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยวุธและรายงานว่า หมู่ ... พร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้ว ครับ ( ค่ะ) จากนั้น นาย หมู่เรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม ( ก้าวเท้าซ้าย ถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยาวุธอีกครั้ง แล้วสั่ง เรียบ - อาวุธ ตามระเบียบ- พัก
 เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามคำแนะนำของวิทยากรประจำฐาน เมื่อหมดเวลา
จะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีด ( เป่ายาว 1 ครั้ง ) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้ง หรือเสียงประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง หมู่ สิงโต ( บอกชื่อหมู่ )ตรง วันทยา - วุธ นายหมู่กล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจำฐานด้วยคำว่า หมู่ สิงโต ขอขอบคุณครับ ( ค่ะ) ( นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไปข้างหน้า) จากนั้นนายหมู่สั่ง เรียบ - อาวุธ ขวา- หัน ตามข้าพเจ้ามา แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
  
ข . ผู้เข้าฐานมีอาวุธเฉพาะนายหมู่
 เมื่อนายหมู่นำหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวรูปหน้ากระดานอยู่หน้าวิทยากร
ประจำฐาน ห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าว เมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง หมู่ เสือ ตรงเฉพาะนายหมู่ทำวันทยาวุธและเรียบอาวุธ แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ( ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยาวุธและรายงานว่า หมู่ เสือ พร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้วครับ ( ค่ะ)จากนั้น นาย หมู่เรียบอาวุธ ถอยหลังเข้าที่เดิม ( ก้าวเท้าซ้าย ถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยาวุธแล้วเรียบอาวุธ แล้วสั่ง ตามระเบียบ พัก
 เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามคำแนะนำของวิทยากรประจำฐาน เมื่อหมดเวลา
จะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด ( เป่ายาว 1 ครั้ง ) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้ง หรือเสียงประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง หมู่ เสือ ตรงนายหมู่ทำวันทยาวุธกล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจำฐานด้วยคำว่า หมู่ เสือ ขอขอบคุณครับ ( ค่ะ)( นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไปข้างหน้า) จากนั้นนายหมู่ลดมือลง แล้วสั่ง ขวา - หัน ตามข้าพเจ้ามาแล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
  
 . ผู้เข้าฐานไม่มีอาวุธ
 เมื่อนายหมู่นำหมู่มาเข้าฐานและเข้าแถวรูปหน้ากระดานอยู่หน้าวิทยากรประจำฐาน
ห่างจากวิทยากรประมาณ 3 ก้าว เมื่อเข้าแถวเรียบร้อยแล้ว นายหมู่สั่ง หมู่กระทิง ตรง เฉพาะนายหมู่ทำวันทยหัตถ์ ลดมือลง แล้วก้าวไปข้างหน้า 1 ก้าว ( ก้าวเท้าซ้ายไปข้างหน้า 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยหัตถ์และรายงานว่า หมู่กระทิง พร้อมที่จะได้รับการฝึกแล้วครับ ( ค่ะ) จากนั้น นายหมู่ลดมือลง ถอยหลังเข้าที่เดิม ( ก้าวเท้าซ้ายถอยหลัง 1 ก้าว เท้าขวาชิด) ทำวันทยหัตถ์อีกครั้งและลดมือลง แล้วสั่ง ตามระเบียบ พัก
 เริ่มฝึกอบรมในฐาน ตามคำแนะนำของวิทยากรประจำฐาน เมื่อหมดเวลา
จะได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดหรือประทัด ( เป่ายาว 1 ครั้ง ) ให้ทุกคนเข้าแถวให้เรียบร้อย เมื่อได้ยินเสียงสัญญาณนกหวีดเป่ายาว 2 ครั้ง หรือเสียงประทัด 2 ครั้ง ให้นายหมู่สั่ง หมู่ กระทิง ตรง นายหมู่ทำวันทยหัตถ์กล่าวขอบคุณวิทยากรผู้ประจำฐานด้วยคำว่า หมู่ กระทิง ขอขอบคุณครับ ( ค่ะ) ( นายหมู่ไม่ต้องก้าวออกไปข้างหน้า) จากนั้นนายหมู่ลดมือลง แล้วสั่ง ขวา - หัน ตามข้าพเจ้า แล้วเคลื่อนไปฐานต่อไป
  
หมายเหตุ
1.
ในกรณีที่เข้าฐานมากกว่าหนึ่งหมู่ให้มีการรายงานทุกหมู่
2.
วิทยากรประจำฐานรับความเคารพโดยการทำวันทยหัตถ์ตอบโดยตลอด รอจนกระทั่งนาย หมู่กลับเข้าที่สั่งหมู่เรียบอาวุธ หรือลดมือลงจากการทำวันทยหัตถ์ วิทยากรประจำฐานจึงเลิกรับความเคารพ

วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2559


เนย์มาร์ vs นักเเข่งรถ





เพลง เชือกวิเศษ






ตำรวจฝรั่งจับแว๊นซ์



เพลง รักนะมอมอ




รวมคลิป สุดยอดเจ๋งๆ